5 วิธีง่าย ๆ ในการลดความอ้วน - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่พยามยามลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจทำให้คุณรับประทานอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น ที่สำคัญควรรับประทานประเภทผักใบเขียว เพราะจะมีใยอาหารอยู่มาก
- พยายามดื่มน้ำก่อนอาหาร เพื่อถ่วงกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเลือกรับประทานใยอาหารก่อนอาหารประมาณครั้งชั่วโมงแทน
- เพื่อผลทางจิตวิทยา ควรใช้ภาชนะเล็กลง โดยมีปริมาณอาหารเท่าเดิมเพื่อให้ดูว่ามีอาหารมากขึ้น และควรใช้ช้อนขนาดเล็กเพื่อจะได้รับประทานช้าลง ที่สำคัญควรฝึกเคี้ยวช้า ๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น
- หาเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้น มักมีความเชื่อผิด ๆ กันว่า การออกกำลังกายมากขึ้นจะทำให้หิวเร็งและรับประทานอาหารมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย จึงมักขจัดความเยื่อนี้ด้วยการรับประทาน การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีช่วยลดความเบื่อหน่าย และเพิ่มการใช้พลังงานเพื่อเผาผลาญไขมันสะสมให้ลดน้อยลง
- สร้างสิ่งจูงใจ หรือทัศนคติดี ๆ ต่อพฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น การเขียนข้อความเกี่ยวกับการลดความอ้วน หรือชุดสวย ๆ ในสมัยก่อนที่เคยใส่ได้ เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมาย และสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้มีความพยายามมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด พยายามพักผ่อนให้มาก ๆ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้ามีรูปร่างที่สวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ต้องอาศัยอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากสุขภาพไม่ดี
ภาวะไขมันในเลือดสูง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์ ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์ กะทิ อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดื่มประเภทเบียร์จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์
อาหารที่ควรรับประทาน คำแนะนำสำหรับวิธีปรุงอาหารควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน 2. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง การออกกำลังกายที่ดีที่สุด กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง ถ้าท่านมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./100กรัม ควรรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง อาหารในแต่ละชนิด จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันปริมาณโคเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) กุนเชียง | 150 | ตับไก่ | 685-750 | กุ้งเล็ก | 125-150 | เนื้อวัวเนื้อล้วน | 60 | กุ้งใหญ่ | 250-300 | ไตวัว | 400 | ไข่ขาว | 0 | กระเพาะวัว | 150 | ไข่ทั้งฟอง | 550 | ตับวัว | 400 | ไข่แดง (เป็ด) | 1120 | ลูกวัว | 140 | ไข่แดง (ไก่) | 2000 | ผ้าขี้ริ้ว | 610 | ไข่นกกระทา | 3640 | หัวใจวัว | 145 | ไข่ปลา | 7300 | ปลาแซลมอน | 86 | ครีม | 300 | ปลาจาระเม็ด | 126 | นกพิราบ | 110 | ปลาดุก | 60 | นมสด | 24 | ปลาทูน่า | 186 | เนยแข็ง | 90-113 | ปลาลิ้นหมา | 87 | เนยเหลว | 250 | ปลาไหลทะเล | 186 | มาการีน | 0 | ปลาหมึกเล็ก | 384 | น้ำมันตับปลา | 500 | ปลาหมึกใหญ่ | 1170 | เนื้อกระต่าย | 60 | ปลิงทะเล | 0 | เนื้อแพะ | 60 | เป็ด | 70-90 | เนื้อแกะล้วน | 60 | ปู | 101-164 | ตับแกะ | 610 | แมงกะพรุน | 24 | กระเพาะแกะ | 41 | หอยกาบ | 180 | เนื้อหมูเนื้อแดง | 89 | หอยแครง | 50 | เนื้อปนมัน | 126 | หอยนางรม | 230-470 | น้ำมันหมู | 95 | หอยอื่นๆ | 150 | ตับหมู | 400 | เบคอน | 215 | ไตหมู | 350 | สมองสัตว์ต่างๆ | 3160 | กระเพาะหมู | 150 | ไส้กรอก | 100 | หัวใจหมู | 400 | แฮม | 100 | ซี่โครงหมู | 110 | ไอศกรีม | 40 | เนื้อไก่เนื้อล้วน | 60 | ต่ออาหาร 100 กรัม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก
ภาวะไขมันในเลือดสูง การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด 1. การควบคุมอาหาร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
|
โรคอ้วน : เสี่ยงต่อโรคใดบ้าง? ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่มีดัชนีความหนาของร่างกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป มีโอกาสตายก่อนวัยอันสมควร สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 30% เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคต่อไปนี้ได้ง่ายนั่นเอง - โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด
- โรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด
- โรคเบาหวาน
- โรคนิ่วในถุงน้ำดี
- กระดูกและข้อเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ
- ระบบทางเดินหายใจทำงานไม่สะดวก
- โรคที่เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจ
แต่ละโรคที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแล้วแต่มีความร้ายแรงและยากต่อการรักษาพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่านยังไม่อ้วนและสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้ตลอดเวลา ท่านจะมีโอกาสเกิดโรคดังกล่าวน้อยมาก ส่วนท่านที่อ้วนแล้ว ท่านจะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อค่อยๆ ลดน้ำหนักลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติฑ์ให้ได้ เราขอเป็นกำลังใจให้ท่านประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักนะคะ
|
วิธีลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
วิธีลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วมีอยู่ 3-4 วิธี ส่วนใหญ่ไม่นิยมทำกัน แต่ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีคนทำกันบ้างแต่ไม่มากนัก สาเหตุที่ไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะวิธีการบางอย่างอาจจะต้องมีการทำผ่าตัดร่วมด้วย ผู้มารับการรักษา อาจต้องเจ็บตัวนอกเหนือจากเสียสตางค์แล้ว วิธีการเหล่านั้นคือ - การฉีดฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้มีผลต่อการเผาผลาญพลังงานจากไขมัน นอกจากจะมีราคาแพงแล้วยังมีผลข้างเคียงรุนแรงค่อนข้างมาก ถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในบางอย่าง
- การผ่าตัดมัดกระดูกขากรรไกรให้เข้าหากัน ปากของคนนั้นๆ ก็จะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ กลืนอาหารเหลวได้เท่านั้น คงไม่มีใครคิดอยากจะลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ในเมืองไทย
- การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะ หรือการตัดต่อลำไส้เล็กใหม่ให้สั้นลง เพื่อลดเวลาในการดูดซึมสารอาหารในระหว่างผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก นอกจากนี้มีคนทดลองใส่ลูกโป่งเข้าไปในกระเพาะ เพื่อให้มีที่ว่างน้อยลง
- การผ่าตัดหรือการดูดไขมันหน้าท้องออก ทั้งสองวิธีมีการทำในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะบางคนโดยเฉพาะสุภาพสตรี มีไขมันหน้าท้อง ซึ่งทำให้หน้าท้องหย่อนไม่สวยงาม จึงไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดเอาไขมันและทำให้หน้าท้องตึงขึ้น ส่วนการดูดไขมันออกทางหน้าท้อง ใช้วิธีเจาะช่องหน้าท้องแล้วเอาเครื่องมือสอดเข้าไปในชั้นไขมัน ใต้ผิวหนังเพื่อดูดเอาไขมันออก
วิธีที่กล่าวมาทั้งหมด คงจะไม่มีวิธีไหนดีไปกว่าการค่อยๆ ลดน้ำหนัก โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย แต่ถ้าท่านต้องการทำจริงๆ ท่านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนที่ท่านจะตัดสินใจ
|
โรคอ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจเป็นโรคอ้วน ถ้ามีไขมันในร่างกายมากกว่าความจำเป็น เราควรเอาใจใส่บ้าง เพราะโรคอ้วนก่อปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง ดูอย่างไรว่าอ้วน จากลักษณะภายนอกพอบอกได้ ถ้าอ้วนมากจริง ๆ แต่สายตาแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงมีการคิดค้นการวัดหลายวิธี ที่ใช้สะดวกได้ง่าย และไม่ค่อยผิดเพี้ยนกันมาก เมื่อคนวัดต่างกัน ก็คือการวัดส่วนสูง และน้ำหนักไปด้วนกัน ซึ่งอาจนำมาคำนวณโดยใช้สูตรง่าย ๆ เพื่อดูความรุนแรงของความอ้วน คือ ค่า เกณฑ์ BMI ที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 20-25 ก.ก. ต่อเมตร2 ซึ่งจากการเก็บข้อมูลประชากรจำนวนมากพบว่ามีอัตราเสี่ยงต่อการตายจากโรคน้อยสุด บางแห่งอาจจะถือว่าเข้าเกณฑ์อ้วนที่ BMI มากกว่า 27-30 ก.ก. / เมตร2 ซึ่งจะประมาณน้ำหนักเท่ากับ 120% ของน้ำหนักมาตรฐาน และเริ่มพบอัตราเสี่ยงต่อการตายมากขึ้น อย่างไรก็ดี BMI สูง อาจพบในคนไม่อ้วน แต่มีกล้ามเนื้อมาก เช่น ในพวกใช้แรงงานมาก ๆ นักกีฬา นักกล้าม ซึ่งกลุ่มนี้ไม่พบว่ามีโรคที่เสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น จึงมีการวัดสัดส่วนประกอบด้วน เพราะพบว่าพวกที่น้ำหนักมากจากไขมันที่พุงต่างหากที่มีความเสี่ยง ค่าที่นิยมใช้กันคือ WHR (WAIST HIP RATIO) หรือสัดส่วนระหว่างเส้นรอบเอวกับเส้นรอบสะโพก ซึ่งในผู้ชายไม่ควรเกิน 1.0 และในผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 ถึงตรงนี้คุณก็อาจสำรวจตัวคุณเองได้ว่า อ้วนเกินไป จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหรือไม่ อันตรายจากโรคอ้วน ภาวะอ้วนทำให้เกิดโรค และความผิดปกติต่าง ๆ ได้มาก หรือเร็วกว่าคนไม่อ้วน ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง : พบว่าถ้าลดน้ำหนักโดยยังมีปริมาณเกลือในอาหารเท่าเดิมก็ลดความดันโลหิตลงได้
- เบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน : ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดนี้ที่รุนแรงสุดกว่าปัจจัยใด ๆ
- ไขมันในเลือดผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดตีบ (Atherosclerosis) เช่น หลอดเลือดสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยพบว่าความอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้โดยตรง และยังเพิ่มความเสี่ยงโดยอ้อมจากภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงด้วย
- นิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสะโพก ข้อเข่า และยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคข้ออักเสบจากเก๊าท์ด้วย
- มะเร็งบางชนิด พบมากขึ้นในคนอ้วน และสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้อ้วน จากการศึกษาของ American Cancer Society โดยอิงน้ำหนักที่คนไข้บอกเองพบว่าถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 40% จะมีอัตรารายจากมะเร็งสูงขึ้น 1.33-1.55 เท่า ที่สำคัญ คือ มะเร็งเยื่อบุมดลูกเต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่
นอกจากนี้เมื่อไม่สบาย ยังเกิดปัญหาในการดูแลรักษามากขึ้น เช่น การหาเส้นเพื่อให้น้ำเกลือยากขึ้น การดมยาสลบทำได้ยากขึ้น การขนย้าย หรือพลิกตัวคนไข้ยากขึ้น การผ่าตัดก็ยากขึ้น เป็นต้น สาเหตุของโรคอ้วน น้ำหนักเกินอาจไม่ใช่โรคอ้วน นักกล้ามก็หนักเกินได้ แต่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพดังข้างต้น ยังมีภาวะบางอย่างทำให้น้ำหนักเกินได้ เช่น โรคความผิดปกติของฮอร์โมน (ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนพวกคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไป) โรคที่มีการบวมคั่งน้ำมากขึ้นในร่างกาย (ได้แก่โรคหัวใจ โรคไตบางชนิด โรคตับที่อาจมีน้ำในช่องท้อง) เป็นต้น ส่วนโรคอ้วนที่มีการสะสมของไขมันในร่างกายมากกว่าปกติ เกิดจากดุลพลังงานเกินมาก คือร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่าพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ โดยมีปัจจัยในแต่ละคนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กรรมพันธุ์ บางคนจึงอ้วนง่าย บางคนอ้วนยาก สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายคือโปรตีน (เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์) ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต (เช่น แป้ง น้ำตาล) ที่สำคัญมากสุด คือ อาหารกลุ่มไขมัน ซึ่งนอกจากให้พลังงานมากว่ากลุ่มอื่นในปริมาณอาหารที่หนักเท่ากันแล้ว ในปริมาณที่คิดเป็นพลังงานเท่ากันอาหารไขมันก็ยังถูกสะสมไว้ในร่างกายมากกว่าอาหารกลุ่มอื่นด้วย ตารางข้างล่างแสดงพลังงานซึ่งอาจได้จากอาหารชนิดต่าง ๆ (ไขมันให้พลังงาน 9 แคลอรี่ต่อกรัม โปรตีน และคาร์โบไอเดรตให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม พลังงาน 1 แคลอรี่ ทำให้น้ำ 1 ลิตรร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส) อาหาร | ปริมาณต่อมื้อ | ปริมาณแคลอรี่ | ไข่ไก่ | 1 ฟอง | 80 | เนย | 1 ช้อนโต๊ะ | 108 | แยม | 1 ช้อนโต๊ะ | 55 | เนื้อไก่ย่าง | 3 ออนซ์ | 180 | เนื้อหมูไม่ติดมัน | 3 ออนซ์ | 215 | เนื้อวัวไม่ติดมัน | 3 ออนซ์ | 180 | มันฝรั่งบด | ½ ถ้วย | 94 | มันฝรั่งทอด | ½ ถ้วย | 228 | กะหล่ำปลีสุก | 1 ถ้วย | 23 | ดอกกะหล่ำสุก | 1 ถ้วย | 27 | ข้าวขาวสุก | 1 ถ้วย | 164 | ข้าวซ้อมมือสุก | 1 ถ้วย | 178 | สับปะรด | ½ ถ้วย | 52 | ส้ม (เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว) | 1 ผล | 73 | กล้วยหอม ยาวประมาณ 6 นิ้ว | 1 ผล | 85 | น้ำอัดลม | 12 ออนซ์ | 124 | เบียร์ | 12 ออนซ์ | 151 | ไวน์ | 3 ½ ออนซ์ | 85 | น้ำตาลทรายขาว | 1 ช้อนกาแฟ ปาดเรียบ | 16 |
และตารางต่อไปนี้ แสดงปริมาณพลังงานที่ใช้ไปในกิจกรรมต่าง ๆ (เป็นแคลอรี่ต่อชั่วโมง) กิจกรรมที่ทำ | ปริมาณแคลอรี่ ที่ใช้ต่อชั่วโมง | นอนหลับ | 75 | ลงนอน (ไม่หลับ) | 85 | นั่งดูโทรทัศน์ | 107 | นั่งทำงานใช้สมอง | 110 | เย็บผ้า | 115 | รีดผ้า | 150 | ซักผ้าด้วยมือ | 240 | ทำสวน | 250 | เลื่อยไม้ | 515 | เดินบนทางราบด้วยความเร็ว 3.2 กม./ชม. | 180 | เดินบนทางราบด้วยความเร็ว 4.8 กม./ชม. | 260 | เดินบนทางราบด้วยความเร็ว 5.6 กม./ชม. | 300 | เดินบนทางราบด้วยความเร็ว 6.4 กม./ชม. | 350 | เดินขึ้นบันได้ด้วยความเร็ว 3.2 กม./ชม. นาทีละ | 10.67 | เดินลงบันได นาทีละ | 3.58 | วิ่งบนทางราบด้วยความเร็ว 8.8 กม./ชม. | 660 | วิ่งบนทางราบด้วยความเร็ว 12.8 กม./ชม. | 825 | วิ่งบนทางราบด้วยความเร็ว 18.2 กม./ชม. | 1,390 | ว่ายน้ำด้วยความเร็ว 1.12 กม./ชม. | 300 | ว่ายน้ำด้วยความเร็ว 2.00 กม./ชม. | 600 | ว่ายน้ำด้วยความเร็ว 2.56 กม./ชม. | 700 | ว่ายน้ำด้วยความเร็ว 3.00 กม./ชม. | 850 | ขี่จักรยานด้วยความเร็ว 8.8 กม./ชม. | 240 | ขี่จักรยานด้วยความเร็ว 14.4 กม./ชม. | 415 | ขี่จักรยานด้วยความเร็ว 20.0 กม./ชม. | 660 | กรรเชียงเรือด้วยความเร็ว 4.0 กม./ชม. | 300 | กรรเชียงเรือด้วยความเร็ว 5.6 กม./ชม. | 660 | กรรเชียงเรือด้วยความเร็ว 17.6 กม./ชม. | 970 | วอลเล่ย์บอล, เล่นเพื่อสนุก | 350 | วอลเล่ย์บอล, แข่งขัน | 600 | เทนนิส, เล่นเพื่อสนุก | 450 | เทนนิส, แข่งขัน | 600 |
ป.ล. เพื่อนๆคนไหนอยากรู้วิธีเกี่ยวกับสุขภาพหรือเรื่องอื่นๆก้อมาบอกกันนะค่ะ |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น